20/3/55

การทำภาพแนว "Cinemagraph"


การทำภาพ Cinemagraph นั้น  มี 3 วิธี

วิธีแรก ...คือการถ่ายภาพแบบ Multi Shot แล้วนำไฟล์มาเรียงต่อกันทำเป็นไฟล์ Gif  ซึ่งวิธีการทำก็เหมือนการทำไฟล์ Gif  ทั่วไป

วิธีที่ 2  ...คือการเอาไฟล์ Video มาทำ ซึ่งผมขอนำเสนอบทความด้วยวิธีการนี้ เพราะผมคิดว่าถ้าทำด้วยวิธีนี้เป็นแล้ว ...วิธีแรกก็จะง่ายมาก ^^

วิธีสุดท้าย  ..คือการนำรูปภาพธรรมดาๆรูปเดียว มาก๊อปปี้ ตกแต่ง และตัดต่อ ให้เป็นภาพเคลื่อนไหว ที่ละช๊อตๆ ซึ่งเป็นวิธีที่ต้องใช้เทคนิคเฉพาะตัวสูงมาก ทำยาก จึงไม่ค่อยมีใครใช้วิธีนี้กันกัน



Step 1.  "เลือกไฟล์ Video "

     การเลือกช๊อตที่จะนำมาทำนี่แหละครับที่ยากที่สุด  ถ้าเป็นVideoที่ถ่ายขึ้นเพื่อตั้งใจเอามาทำเลยก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเป็น Video ที่ไม่ได้จัดฉากขึ้นเพื่อทำ Cinemagraphs โดยเฉพาะแล้ว แนะนำให้เลือกช๊อตที่ไม่มีการเคลื่อนไหวในซีนนั้นมากครับ  เพราะส่วนที่เราต้องการให้เป็นภาพนิ่งกับส่วนที่เราต้องการให้เคลื่อนไหว ...อาจจะไม่สัมพันธ์กัน ทำให้งานออกมาไม่สวย

ใช้โปรแกมตัดต่อ เช่น  "Windows Live Movie Maker"  ตัดไฟล์Videoเฉพาะส่วนที่ต้องการทำเป็น Cinemagraphs  (อาจจะแค่ 2-5 วินาที) เพื่อให้ไฟล์มีขนาดเล็ก จะได้ง่ายต่อการแปลงไฟล์ และ Import เข้า PhotoShop ครับ

•  แปลงไฟล์ให้เป็น ตระกูล "Quick Time Movie" (.MOV,.AVI,.MPG,.MPEG,.MP4) ด้วยโปรแกรมแปลงไฟล์ เช่น Adobe Media Encoder  ( ไฟล์ตะกูลอื่นเปิดใน PhotoShop ไม่ได้ครับ  อ่อ..ผมไม่แน่ใจนะครับว่า PhotoShop เปิดไฟล์ Movie ได้ตั้งแต่เวอร์ชั่นไหน  เท่าที่รู้ก็ CS3 ขึ้นมาครับ ก่อนหน้านั้น ไม่ทราบนะครับ TT-TT )

•  ลากไฟล์ที่เตรียมไว้เข้ามาในโปรแกรม PhotoShop เลยครับ

Step 2.  "ตัดเฉพาะส่วนที่ใช้"

• เมื่อเปิดไฟล์Videoแล้ว สังเกตุในพาเนล Layer จะได้  Layer Video ที่มีสัญลักษณ์รูปฟิมล์อยู่มุมขวาล่าง

• ลองกดเครื่องหมาย Play ใน"ANIMATION (TIMELINE)" (วงกลมสีแดงตามรูปตัวอย่าง) 
ดูการเคลื่อนไหวของไฟล์Video ..แล้วเลือกเฉพาะส่วนที่เราต้องการ  โดยเลื่อน "Work Area" ด้านซ้าย-ขวาเข้ามาตรงช่วงเฟรมที่เราเลือก(ลูกศรสีเหลืองตามรูปตัวอย่าง)

• จากนั้นกดมุมขวาบนของพาเนล ANIMATION (TIMELINE) เลือก "Trim Document Duration to Work Area"  ...เราจะได้ไฟล์เฉพาะส่วนที่เราใช้ครับ

Step 3.  "สร้างภาพนิ่ง"

• เลือ Current Time Indicator(ขีดแดงๆแสดงตำแหน่งการเล่นว่าอยู่เฟรมไหน) ..หาเฟรมที่เราต้องการให้เป็นภาพหลัก เมื่อได้แล้วกด "Ctrl+A" เพื่อเลือกพื้นที่ทั้งหมด (สังเกตุจะเกิด Selection รอบภาพ)

• กด "Ctrl+J" เพื่อCopyเอาภาพในเฟรมนั้น ขึ้นมาเป็นภาพธรรมดาใน Layer ใหม่ 



• คลิ๊กเลือกที่ Layer ภาพนิ่ง( Layer 2 )  กด "Q" เพื่อเข้าสู้่โหมด Ouick Mask ใช้ Brush ระบายมาร์คส่วนที่เราไม่ต้องการให้เคลื่อนไหว 


เมื่อเสร็จแล้ว กด "Q" อีกครั้ง เพื่อออกจากโหมด Ouick Mask จะเห็นว่ามี Selection ขึ้นนอกส่วนที่เราไม่ต้องการให้เคลื่อนไหว

• กด "Shift+Ctrl+I"  1ครั้ง เพื่อสลับด้านพื้นที่ Selection

• กดสัญลักษณ์ "Add Layer Mask" จะได้
Layer Mask 

Step 4.  "เสร็จ"

• ถึงตรงนี้ ..ถ้าลองกด Play ดูแล้วได้ผลลัพธ์ที่พอใจ ก็สามารถ Save งานได้เลยครับ โดยการเซฟเป็น Gif นั้น ให้ก"Alt+Shift+Ctrl+S"  หรือใช้เมนู File > Save for Web..นะครับ  


Step 5.  "ตกแต่ง"

• หากยังไม่สาแก่ใจ ก็ตกแต่งเพิ่มเติมได้ ขั้นแรกเราจะเปลี่ยนการทำงานให้เป็นโหมด FRAMES ก่อน จะได้แก้ไขง่าย    ...โดยการกดปุ่ม"มุมขวาบน"ของพาเนล ANIMATION(ตามรูป)  ....เลือก Flatten Frames Into Layer 

จะมีเลเยอร์ใหม่ขึ้นมาประมาณ 10 เลเยอร์   และ 2 เลเยอร์แรกของเราจะกลายเป็นเลเยอร์ซ่อน(ตาปิด)  ...ลบ2เลเยอร์แรกของเราทิ้งเลยครับ 
กดปุ่ม"มุมขวาบน"ของพาเนล ANIMATION อีกครั้ง  เลือก "Make Frames From Layer" เพื่อสร้างคีย์เฟรมให้ภาพเคลื่อนไหว

• กดปุ่ม"มุมขวาล่าง"ของพาเนล ANIMATION (ดูรูป)   เลือก  "Convert to Frame Animation" เพื่
อเปลี่ยนโหมดพาเนลเป็นแบบ ANIMATION (FRAMES)  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น